กนง. เคาะคง ดอกเบี้ย 0.50 ตลอดปี เงินเฟ้อจ่อทยอดลงปี 66 เล็งกระตุ้นเศรษฐกิจ

กนง. เคาะคง ดอกเบี้ย 0.50 ตลอดปี เงินเฟ้อจ่อทยอดลงปี 66 เล็งกระตุ้นเศรษฐกิจ

กนง. เคาะคง ดอกเบี้ย 0.50 ตลอดปี ป้องกันความเสี่ยงจากความผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยน คาดค่าเงินเฟ้อจ่อทยอดลงปี 66 เล็งกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยผลการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ.2565 วันที่ 1 ม.ค.- 30 เพื่อหารือถึงเรื่องเงินบาทอ่อนตัว หรือ ถึงประเด็น ดอกเบี้ย กนง

นายอนุชา เผยว่าที่ประชุมมีมติคง ดอกเบี้ย กนง. ไว้ที่ 0.50 ต่อปี 

เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เห็นควรให้มีมาตรการเฉพาะสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจบางกลุ่ม ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวของลูกหนี้ และประการสุดท้ายคือ การสื่อสารแนวนโยบายการเงินในประเด็นที่ประชาชนสนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงิน

ในส่วนประเด็นอื่นๆนั้น เป้าหมายนโยบายการเงินปี 2565 ครม.เคยมีมติอนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน และ กนง.เคยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ปี 2565 ถึงไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน

ส่วน การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากหมวดบริการเป็นสำคัญ ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคการค้าและภาคบริการฟื้นตัว

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และภาคการส่งออก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว อีกทั้งเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 โดยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 และ 4.2 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดบริการและจากภาคท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านตลาดแรงงานมีสัญญาณดีขึ้น โดยจำนวนผู้ว่างงานปรับลดลงเข้าใกล้ระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.6 สูงกว่ากรอบเป้าหมาย โดยเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงาน เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้น

วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2565 ร่วมภูมิใจคุณค่า “ธงไตรรงค์”

ร่วมเฉลิมฉลองวันสำคัญเนื่องในโอกาส “วันพระราชทานธงชาติไทย” 28 กันยายน 2565 หลังรองนายกฯ พลเอก ประวิตร ชมนิทรรศการโครงการปลูกจิตสำนึกและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย “ธงไตรรงค์ ธำรงไทย” ที่บริเวณโถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 09.15 น. รองนายกฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะผู้บริหารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมกิจกรรม นิทรรศการโครงการปลูกจิตสำนึกและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย “ธงไตรรงค์ ธำรงไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 105 ปี วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) สำหรับวันพระราชทานธงชาติไทย เริ่มต้นจากมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีคือวัน วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการประจำปี

ทั้งนี้จุดประสงค์ของการจัดตั้ง วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน เพื่อเป็นการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2460 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสยามในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับประเทศสัมพันธมิตรในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้วันพระราชทานธงไตรงค์ยังมีขึ้นเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย และปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักชาติความสามัคคีในคนไทย พร้อมศึกษาประวัติความสำคัญของธงชาติไทย และข้อปฏิบัติของธงชาติไทยรวมถึงความหมายของสีต่าง ๆ ในธงไตรรงค์

ธงไตรรงค์หมายถึงธงชาติไทยเริ่มใช้ครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 โดยในปัจจุบันธงไตรรงค์หรือธงชาติไทย มักจะถูกอัญเชิญขึ้นเสาทุกวันเวลา 8.00 น. และเวลา 18.00 น. ในสถานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของธงชาติและความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย

ธงชาติไทยประกอบด้วยแถบ 3 สี โดยแต่ละสีมีความหมายแตกต่างกันออกไป สีแดง หมายถึง เลือดที่พร้อมเสียสละพลีกายเพื่อชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพระพุทธศาสนาอันเป็นสถาบันหลักของชาติ และสุดท้ายคือแถบสีที่ใหญ่สุดคือ สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนทุกคน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย.

แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี